การวิจัยเชิงเปรียบเทียบสาเหตุคือ การวิจัยที่มุ่งศึกษาสาเหตุ ที่อาจเป็นไปได้ของผลที่เกิดขึ้น โดยทั้งเหตุและผลได้เกิดขึ้นอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งการศึกษาถึงผลที่เป็นไปได้ของตัวแปรอิสระ ที่มีต่อตัวแปรตามผู้วิจัย ไม่สามารถจัดกระทำหรือควบคุมตัวแปร และสิ่งที่น่าจะเป็นสาเหตุได้ การวิจัยประเภทนี้จึงมิได้เป็นการพิสูจน์ถึงความเป็นสาเหตุ แต่ย้อนไปถึงสิ่งที่น่าจะเป็นสาเหตุมากกว่า
ลักษณะของการวิจัยเชิงเปรียบเทียบสาเหตุ
- เป็นการวิจัยที่พยายามศึกษาถึงสาเหตุ หรือผลความแตกต่างของพฤติกรรม กลุ่มคน บุคคลหรือสถานการณ์ต่างๆ
- เป็นการวิจัยที่ไม่สามารถจะกระทำ หรือควบคุมตัวแปรหรือสิ่งที่คาดว่าน่าจะเป็นสาเหตุได้ แต่สังเกตตัวแปรตามและผลที่จะตามมาย้อนหลัง ที่น่าจะเป็นเหตุหรือเป็นตัวแปรอิสระ
- เป็นการศึกษาจะที่มีลักษณะการสอบสวนสืบสวน
- ตัวแปรอิสระ ตัวแปรที่ศึกษามีการจัดกระทำ เพื่อทดลองหาเหตุและผลไม่ได้โดยตรง เช่น พฤติกรรมการสูบบุหรี่ หรือสถานภาพรายได้ของผู้ปกครอง ที่มีผลกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เป็นต้น
- การศึกษาเน้นการเปรียบเทียบ ที่มีความแตกต่างอยู่แล้วในบางตัวแปร การศึกษาจึงทำได้แค่หาสาเหตุและความแตกต่างของตัวแปรนั้น
- ศึกษาความสัมพันธ์ในลักษณะย้อนรอย และนำไปสู่การวิจัยเชิงทดลอง
ขั้นตอนในการทำวิจัยเชิงเปรียบเทียบสาเหตุ
การดำเนินการวิจัยเชิงเปรียบเทียบ มีด้วยกันทั้งหมด 4 ขั้นตอนคือ
- การระบุปัญหาหรือคำถามวิจัย ซึ่งการตั้งคำถามในการวิจัยเชิงเปรียบเทียบ มักจะเกิดจากหลักการทฤษฎีและการสังเกต ให้เห็นถึงความแตกต่าง
- การตั้งสมมุติฐาน เกิดจากปัญหาและผลที่สังเกตพบ ผู้วิจัยสามารถสืบค้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผลงานวิจัย หรือทฤษฎีที่ผ่านมา โดยมาทำการตั้งสมมุติฐานรองรับ
- การดำเนินการวิจัย ซึ่งขั้นตอนของการดำเนินการวิจัย การออกแบบการวิจัยการออกแบบการวิจัยเชิงเปรียบเทียบสาเหตุ มี 2 รูปแบบคือ รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรและรูปแบบกลุ่มเปรียบเทียบ
- การเลือกกลุ่มตัวอย่าง เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่าง เพื่อเปรียบเทียบความสำคัญในการสรุปอ้างอิง ของผลการวิจัย เช่น การเลือกกลุ่มนักเรียนที่มีผลการเรียนสูง และกลุ่มนักเรียนที่มีผลตอนเรียนต่ำ เป็นต้น
- การเก็บรวบรวมข้อมูล เมื่อระบุตัวแปรซึ่งมีความแตกต่างกัน ความแตกต่างกันในกลุ่มที่ศึกษา โดยผู้วิจัยจะทำการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยอาจจะใช้เครื่องมือต่างๆในการวัด โดยอาจจะเป็นแบบสอบถามหรือเครื่องมืออื่นๆ
- การวิเคราะห์ข้อมูลแปลผล การวิเคราะห์ข้อมูลสามารถใช้เครื่องมือทางสถิติ ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้หลากหลาย อย่างเช่น การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์การถดถอยพาหุสูตร การวิเคราะห์เส้นทางการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม
- การแปลผลจากข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล ขั้นตอนนี้ผู้วิจัยจะต้องนำผลจากการวิเคราะห์มาตีความ เพื่อให้ได้ข้อสรุปซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญเป็นอย่างมาก โดยการตีความจะต้องดูว่า มีปัจจัยหลักเป็นตัวแปรที่มีความสัมพันธ์เด่นชัดที่สุด กับตัวแปรตามหรือไม่ หรือปัจจัยตัวใดที่มีความสัมพันธ์เด่นชัดสุด กับตัวแปรตามหรือผลที่ได้มีปัจจัยใดมาเกี่ยวข้อง และมีน้ำหนักเป็นอย่างไรและมีปัจจัยหลักใดที่มีแนวโน้มจะเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดผลดังกล่าว
ข้อดีของการวิจัยเชิงเปรียบเทียบสาเหตุ
- เป็นการวิจัยที่เหมาะสำหรับการศึกษาปัญหา ที่ไม่สามารถทำการทดลองได้ เพราะหากว่าใช้วิธีการเชิงทดลอง จะสิ้นเปลืองเวลาและงบประมาณเป็นอย่างสูง
- การวิจัยแบบนี้ให้ข้อมูลเชิงกว้างมากกว่าการวิจัยเชิงทดลอง เพราะสามารถศึกษาตัวแปร ได้อย่างครอบคลุม
- ในการศึกษาบางกรณีนั้น การศึกษาเปรียบเทียบเชิงสาเหตุ เหมาะสมมากกว่าการวิจัยเชิงทดลอง โดยเฉพาะในการศึกษาสถานการณ์ที่ต้องการความเป็นธรรมชาติ
- การวิจัยเชิงเปรียบเทียบเหมาะสำหรับ การศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ไม่ซับซ้อนถ้าเหมาะสำหรับการศึกษาวิจัย สำหรับการเริ่มต้นเพราะข้อมูลสามารถบ่งชี้ ถึงแนวโน้มความสัมพันธ์เชิงสาเหตุได้
ข้อจำกัดของการวิจัยเชิงเปรียบเทียบสาเหตุ
- ในการวิจัยผู้วิจัยไม่มีความรอบรู้ หรือไม่ระมัดระวังในการวิจัย อาจจะทำให้ผลในการวิจัยคลาดเคลื่อน
- การสรุปผลทำได้ยาก หากมีตัวแปรที่มีอิทธิพลหลายตัวแปร
- ผลที่เกิดขึ้นในต่างวาระนั้น อาจจะมาจากสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงยากที่จะสรุปผลได้
- ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ อาจผูกพันจากความหมาย ทำให้สามารถสรุปผลได้ยาก เนื่องจากมีหลายสาเหตุ
ดังนั้นใครก็ตามที่กำลังมองหาทีมงานมืออาชีพ ที่พร้อมให้คำปรึกษา คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือ พร้อมรับทำวิจัยวิจัยเชิงเปรียบเทียบสาเหตุ (Causal-Comparative Research)ที่มีคุณภาพ บนพื้นฐานของราคาที่ยุติธรรม