การสัมภาษณ์การเก็บรวบรวมข้อมูล

หลังจากได้ดำเนินการวางแผนการวิจัยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการเก็บรวมรวมข้อมูล ในขั้นตอนนี้นักวิจัยต้องเริ่มต้นด้วยการพิจารณาว่าข้อมูลประเภทใดที่จะตอบคำถามในการวิจัยที่กำหนดไว้ได้ ต้องตัดสินใจว่าจะจัดการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างไรที่จะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงใช้เทคนิคที่จะช่วยให้ได้ข้อมูลที่ตรงตามความจริง อาจกล่าวได้ว่า ทุกคนเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถได้ข้อมูลที่เป็นความจริง เป็นที่แน่นอนว่าการเรียนรู้และเข้าใจในเรื่องราวประสบการณ์พฤติกรรม ความรู้สึก และความคิดเห็นด้านต่างๆของบุคคลโดยนักวิจัยจะไม่มีทางล่วงรู้ได้จากการเพียงสังเกตอยู่ห่างๆ การสัมภาษณ์หรือเก็บรวบรวมข้อมูลนั้นแม้จะเลือกกลุ่มตัวอย่างได้ถูกต้อง เหมาะสมตามคำถามวิจัยแล้ว ผู้เชี่ยวชาญในการเก็บรวมรวบข้อมูลจะต้องมีความรู้ในเรื่องที่ดำเนินการ การเลือกสภาพแวดล้อม การเลือกโอกาส การมีเทคนิคเฉพาะในการเข้าถึงแต่ละกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการวางบุคลิก การมีศิลปะในการพูด ในการเสาะแสวงหา เจาะลึกข้อมูลเพื่อให้การเก็บข้อมูลในแต่ละหน่วยนั้นไม่พลาด ซึ่งจะเป็นการเสียเวลา งบประมาณ รวมถึงอาจะเสียเป้าหมายหน่วยนั้นไป จากการที่ผุ้สัมภาษณ์นั้นไม่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมในการสัมภาษณ์นั้นได้อย่างเหมาะสม

การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlational Research)

บทความวิจัยและบทความวิชาการ