การวิจัยกึ่งทดลองเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ที่ใช้ในการศึกษาในห้องทดลอง หรือในภาคสนามหรือสถานการณ์ในชีวิตจริง ที่มีการจัดการกระทำกับตัวแปรอิสระ แต่ไม่สามารถทำการสุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มได้ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ อาจจะเป็นกลุ่มตัวอย่างที่มีอยู่แล้ว ตามสภาพธรรมชาติ เช่นนักเรียน ห้องเรียน มีลักษณะคล้ายคลึงกับการวิจัยเชิงทดลอง แต่การวิจัยจึงทดลองไม่มีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่ม สามารถสรุปการวิจัยกึ่งทดลองได้ดังต่อไปนี้
- มักใช้กลุ่มตัวอย่างที่มีอยู่ตามสภาพจริงตามธรรมชาติ ซึ่งบางครั้งก็ไม่มีกลุ่มควบคุม
- มีการจัดกระทำกับตัวแปรทดลองหรือตัวแปรอิสระ ซึ่งเป็นตัวแปรที่เกิดขึ้น เพื่อจะทำการทดลองว่าเป็นสาเหตุหรือไม่ ในกลุ่มทดลองโดยการจัดกระทำกับตัวแปรอิสระ อาจกระทำโดยนักวิจัยคนอื่นๆ การวิจัยกึ่งทดลองบางแบบ อาจไม่มีกลุ่มควบคุมแต่ใช้การวัดตัวแปรตามก่อน
- มีการควบคุมสถานการณ์ที่มากระทบต่อผล ที่เกิดจากการทดลองและตัวแปร ที่ไม่ต้องการศึกษาเพื่อให้เกิดผลสูงสุด อันเนื่องมาจากตัวแปรทดลอง จึงมีการควบคุมอิทธิพลของตัวแปรเกิน หรือสถานการณ์เงื่อนไขต่างๆ ที่ไม่ต้องการศึกษาและอาจจะมีผลต่อการทดลอง ซึ่งทำให้ผลการทดลองผิดพลาดหรือผิดเพี้ยนไป ดังนั้นเพื่อให้ผลการทดลองถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริง ต้องมีการควบคุมสถานการณ์ ที่มากระทบกระเทือนต่อการวิจัย
- พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้มีความสมดุล ทั้งความเที่ยงตรงภายในและภายนอก คือผลของการแปรเปลี่ยนในตัวแปรตาม เนื่องมาจากตัวแปรอิสระที่ต้องการศึกษาโดยพยายามขจัดอิทธิพลของตัวแปรเกิน ที่ส่งผลต่อตัวแปรตามให้หมดไป
- มุ่งเน้นสร้างสถานการณ์ขึ้นแล้ว สังเกตผลที่ตามมา มุ่งทดสอบสมมุติฐานควบคุมตัวแปรเกินแล้วปล่อยให้ตัวแปรอิสระ ส่งผลต่อตัวแปรตามและวัดผลตัวแปรตาม
ปัจจัยที่มีผลต่อความเที่ยงตรงภายในการวิจัยกึ่งทดลอง
- เหตุแทรกซ้อนคือ มีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นในอนาคตแล้วมีผลต่อตัวแปรตาม
- วุฒิภาวะมีการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจร่างกาย ของกลุ่มตัวอย่าง
- การทดลองจะได้คะแนนสูงขึ้น ในการทดสอบภายหลังการทดลอง
- เครื่องมือการวิจัย เครื่องมือการวิจัยมีความเที่ยงตรง มีมาตรฐาน
- อคติในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง มักเกิดจากการเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยอคติของผู้วิจัย
- การสูญหายของกลุ่มประชากร ระหว่างการทดลองมักเกิดขึ้นในการทดลองที่ใช้เวลายาวนาน
ขั้นตอนการวิจัยกึ่งทดลอง
- กำหนดปัญหาและบ่งชี้ปัญหาการวิจัยให้ชัดเจน
- การตั้งสมมุติฐานในการวิจัย เพื่อเป็นการหาคำตอบที่ผู้วิจัยคาดหวัง จะได้รับจากการวิจัยกึ่งทดลอง
- การออกแบบการวิจัย ต้องมีการกำหนดประชากรกลุ่มตัวอย่าง การจัดกลุ่มตัวแปรเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ มีการควบคุมตัวแปรต่างๆ
- การเลือกเครื่องมือในการวิจัย การศึกษาการนำร่อง เพื่อความเป็นไปได้ในการทดลอง การวางแผนการดำเนินงาน
- ดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้
- จัดเรียงข้อมูล
- วิเคราะห์ผลการทดลอง
- สรุปผลการทดลองและเขียนรายงาน
ประโยชน์ของการวิจัยแบบกึ่งทดลอง
- หากในกรณีไม่สามารถควบคุมสภาพการณ์ทดลองได้ อย่างเคร่งครัด สามารถใช้รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลองได้
- หากในกรณีที่ไม่สามารถสุ่มกลุ่มตัวอย่าง จากประชากรได้ เนื่องจากข้อจำกัด สามารถใช้รูปแบบการวิจัยแบบ กึ่งทดลองได้
- ผลการทดลองสามารถแสดงถึง ความสัมพันธ์ที่เป็นเหตุเป็นผลกันได้ใน
- สามารถใช้ทดสอบทฤษฎี เพื่อยืนยันว่าทฤษฎีนั้นยังมีความถูกต้อง ทันสมัย
ข้อดีของการวิจัยกึ่งทดลอง
- เป็นทางเลือกในการตรวจสอบ ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลในสถานการณ์ ที่ไม่เอื้ออำนวยที่จะทำการควบคุมการทดลองได้ อย่างสมบูรณ์แบบ โดยเฉพาะการวิจัยเชิงพฤติกรรมของมนุษย์
- สามารถที่จะนำมาใช้ในเชิงปฏิบัติ และสามารถอ้างอิงผลและนำไปใช้ในสถานการณ์จริงได้
- เหมาะที่จะใช้กรณีที่ผู้วิจัย ไม่สามารถทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองได้ โดยเฉพาะการวิจัยภาคสนาม
ดังนั้นใครก็ตามที่กำลังมองหาทีมงานมืออาชีพ ที่พร้อมให้คำปรึกษา คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือ พร้อมรับทำวิจัยวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research)ที่มีคุณภาพ บนพื้นฐานของราคาที่ยุติธรรม