การวิจัยเชิงปฏิบัติการ เป็นวิธีการแสวงหาความรู้ใหม่ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อการอธิบาย ทำนายและควบคุมปรากฏการณ์ต่างๆ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ การวิจัยเชิงปฎิบัติการ มุ่งนำผลที่ได้จากการวิจัยไปใช้ ในการพัฒนาและปรับปรุงผลการปฏิบัติงานขององค์กร ให้มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลอย่างสูงสุด เน้นการประยุกต์ใช้ความรู้ เทคโนโลยีที่ได้ศึกษา จากที่ได้จากการศึกษาวิจัยมากกว่า การมุ่งสร้างและพัฒนาองค์ความรู้
จุดมุ่งหมายของการวิจัยปฏิบัติการ เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผล ของการปฎิบัติงานให้ดีมากยิ่งขึ้น สามารถวิเคราะห์สภาพปัญหา อันเป็นสาเหตุที่ทำให้งานนั้น ไม่ประสบความสำเร็จ ลักษณะเด่นของการวิจัยเชิงปฏิบัติการสามารถที่จะสรุป ได้ดังต่อไปนี้
- เป็นวิธีการที่จะปรับปรุงการปฏิบัติงาน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
- เป็นการวิจัยที่นำตัวเองเข้าไปมีส่วนร่วม ในกิจกรรมที่บุคคลดำเนินการอยู่ เพื่อที่จะปรับปรุงงานที่ปฏิบัติงานอยู่ให้ดีมากยิ่งขึ้น
- ดำเนินการผ่านขั้นตอน การวางแผนการ ดำเนินงาน การสังเกต การสะท้อนข้อมูล และหลังจากนั้นก็ย้อนกลับไปเป็นวัฎจักร
ลักษณะของการวิจัยปฏิบัติการ
- เป็นการวิจัยแบบมีส่วนร่วม และมีการร่วมมือดังนั้นผู้วิจัย ทุกคนจึงมีส่วนสำคัญและมีบทบาทเท่าเทียมกัน ในทุกกระบวนการการวิจัย
- เน้นการปฏิบัติการและการศึกษาผลการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการพัฒนา
- ใช้ในการวิเคราะห์สามารถวิเคราะห์ได้อย่างลึกซึ้ง และนำไปสู่การตัดสินใจที่สมเหตุสมผล และสามารถนำไปปรับใช้ในการปฎิบัติการได้ เป็นอย่างดี
- สามารถนำไปพัฒนารูปแบบของการปฎิบัติงานจริง จนเป็นที่พึงพอใจ
กระบวนการดำเนินการวิจัยปฏิบัติการ
- การวางแผนคือ การกำหนดแนวทางปฏิบัติการไว้ล่วงหน้า โดยอาศัยการคาดคะเนแนวโน้มของผลลัพธ์ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการปฎิบัติตามแผนที่วางไว้ ประกอบกับเหตุการณ์หรือเรื่องราวในอดีต ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาที่จะศึกษา โดยการวางแผนจะต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่น และสามารถนำมาปรับเปลี่ยน ให้เข้ากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอนาคต
- การปฎิบัติการ เป็นการลงมือการดำเนินงาน ตามแผนที่กำหนดไว้อย่างระมัดระวัง และควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้ ซึ่งแผนที่กำหนดมีโอกาสเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไข และข้อจำกัดของสภาวการณ์นั้นๆ
- การสังเกตการณ์ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับกระบวนการและผลที่เกิดขึ้นจากการปฎิบัติงาน รวมทั้งการสังเกตการณ์ปัจจัยสนับสนุน และอุปสรรคในการดำเนินการตามแผนที่วางไว้ ตลอดจนปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ระหว่างการปฎิบัติตามแผนว่า มีลักษณะอย่างไรซึ่งการสังเกตที่ดี จะต้องมีการวางแผนการเอาไว้ล่วงหน้า โดยไม่มีขอบเขตที่จำกัดมากจนเกินไป เพื่อจะได้เป็นแนวทาง สำหรับการสะท้อนกลับกระบวนการ และผลการปฏิบัติงาน
- การสะท้อนกลับ เป็นการให้ข้อมูลถึงการกระทำ ตามที่บันทึกข้อมูลไว้จากการสังเกตในเชิงวิพากษ์ กระบวนการและผลการปฏิบัติงานตามที่วางแผนไว้ ตลอดจนการวิเคราะห์เกี่ยวกับปัจจัยสนับสนุน และปัจจัยและอุปสรรคในการพัฒนา รวมทั้งประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นว่า เป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่
ประเภทของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
- 1. การวิจัยเชิงปฏิบัติการที่ยึดเทคนิค
ดำเนินการโดยบุคคลหรือกลุ่มคนที่มีประสบการณ์สูง หรือมีคุณสมบัติเป็นผู้เชี่ยวชาญการวิจัยเชิงปฎิบัติการ ทำให้งานที่ปฏิบัติมีทั้งประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น มุ่งเน้นโดยตรงไปที่ผลของการวิจัย แต่ในขณะเดียวกันผู้ปฎิบัติการวิจัยเอง เป็นผู้ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วม ในกระบวนการปรับปรุงการวิจัย สามารถตรวจสอบความเที่ยงตรง และการกระทำให้ มีความละเอียดมากยิ่งขึ้น สามารถพิจารณาจากทฤษฎี นำไปสู่เรื่องเฉพาะของการปฎิบัติงานหรือเรียกง่าๆว่านำทฤษฎีสู่การปฏิบัติ - การวิจัยเชิงปฎิบัติการที่เกิดจากประสบการณ์การปฎิบัติ
การดำเนินการโดยผู้วิจัยในฐานะผู้ปฏิบัติงาน กับผู้เกี่ยวข้องช่วยกันกำหนดปัญหาเป็นเหตุ ให้เกิดการลองใช้วิธีการต่างๆ เข้าไปเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือปรับปรุงการกำหนดปัญหาเกิดขึ้น หลังจากการสนทนาระหว่างผู้วิจัยกับผู้ปฏิบัติงาน การปฏิบัติการวิจัยเชิงปฏิบัติประเภทนี้ แสวงหาหนทางเลือกเกิดการปรับปรุง การปฏิบัติงานโดยใช้สติปัญญาของผู้ปฏิบัติงานเป็นสำคัญ โดยมีเป้าหมายสำคัญของวิจัยคือ เข้าใจการปฎิบัติงานและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ช่วยพัฒนาการทางด้านวิชาชีพ ทำให้เกิดสิ่งดีดีกับผู้ปฏิบัติงานและผู้เกี่ยวข้อง - การวิจัยเชิงปฏิบัติการมีส่วนร่วม
การวิจัยประเภทนี้ส่งเสริมให้เกิดการ มีส่วนร่วมระหว่างผู้ปฏิบัติ โดยผู้ปฏิบัติงานทุกคนต่างมีความสามารถ มีจิตสำนึกผลักดันให้องค์กรเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยมีเป้าหมายสำคัญ 2 ประการคือ
- ทำให้เกิดความใกล้เคียงกันมากที่สุดระหว่างปัญหาที่เกิดขึ้น กับทฤษฎีที่ใช้อธิบายและใช้แก้ไขปัญหา
- ทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถกำหนด และดึงฐานข้อมูลเบื้องลึกของปัญหาออกมา โดยใช้ความสามารถที่มีอยู่ในตัวของผู้ปฏิบัติงานเอง
ขั้นตอนของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
- การจำแนกปัญหาที่จะศึกษา โดยศึกษารายละเอียดของปัญหาอย่างแท้จริงและชัดเจน โดยแสวงหาหลักการและทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวข้อง
- การเลือกปัญหาสำคัญที่เหมาะแก่การศึกษาและวิจัย โดยอาศัยพื้นฐานจากหลักการและทฤษฎี มาใช้ในการวิเคราะห์ลักษณะของปัญหา สร้างวัตถุประสงค์และสมมุติฐานของการวิจัย ในรูปแบบของความข้อความ ที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหา และหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
- การเลือกเครื่องมือในการดำเนินการวิจัย ที่สามารถให้คำตอบของปัญหา ตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ โดยเครื่องมือมีด้วยกัน 2 ลักษณะคือ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
- การบันทึกเหตุการณ์อย่างละเอียด โดยเก็บบันทึกเป็นข้อๆ เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงวงจร ในการปฏิบัติในรอบถัดไป และเพื่อสามารถเก็บรวบรวมข้อมูล สำหรับการวิเคราะห์คำตอบของสมมุติฐานได้
- วิเคราะห์ความสัมพันธ์ในด้านต่างๆของข้อมูลที่รวบรวมเอาไว้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ สามารถตรวจสอบรายละเอียดของข้อมูลได้อย่างถูกต้อง และมั่นใจในความแม่นยำ
- ตรวจสอบข้อมูลที่กลุ่มวิจัย ได้ร่วมกันพิจารณาเพื่อสรุปหาคำตอบ ที่เป็นสาเหตุวิธีการแก้ปัญหา
ดังนั้นใครก็ตามที่กำลังมองหาทีมงานมืออาชีพ ที่พร้อมให้คำปรึกษา คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือ พร้อมรับทำวิจัยวิจัยปฏิบัติการ (Action Research)ที่มีคุณภาพ บนพื้นฐานของราคาที่ยุติธรรม