วิจัยเฉพาะกรณี (Case-Study Research)

การวิจัยเฉพาะกรณีเป็นการศึกษากรณีพิเศษที่น่าสนใจ ซึ่งนักวิจัยจะหารายละเอียดของปฏิสัมพันธ์ ระหว่างกรณีที่ศึกษากับบริบทต่างๆ เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจกิจกรรม ความซับซ้อนของกรณีต่างๆภายใต้เงื่อนไข ซึ่งกรณีศึกษาจะต้องมีขอบเขตที่ชัดเจนมีความสมบูรณ์ ทั้งในแง่ของเวลาสถานที่เนื้อหาและบริบทด้วย

ประโยชน์ในการวิจัยเฉพาะกรณี  จะทำให้เกิดความเข้าใจถึงประเด็นนั้นๆได้เป็นอย่างดี มีความเฉพาะเจาะจง และมีขอบเขตที่ชัดเจน การศึกษาจะศึกษาทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ใช้ทั้งสองควบคู่กัน  การศึกษานั้นอาจจะศึกษาเป็นบุคคล เหตุการณ์ องค์กร กลุ่มวัฒนธรรม

วิจัยเฉพาะกรณี แบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ

รูปแบบของการวิจัยนั้น มีหลากหลายวิธี ซึ่งจะเลือกวิธีใดก็ตามนั้นอยู่ที่ความเหมาะสมของปัญหาการวิจัยในแต่ละเรื่องมากกว่า

  1. Historical Organizational เป็นการศึกษาแบบกรณีศึกษา โดยศึกษาองค์กรองค์กรหนึ่งอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นการติดตามเกี่ยวกับพัฒนาการขององค์กร เป็นต้น
  2. Observational เป็นการศึกษาที่ใช้การสังเกต แบบมีส่วนร่วม เป็นวิธีการพื้นฐานของการเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาบางสิ่งเฉพาะเจาะจงไป เช่น การศึกษาเกี่ยวกับโรงเรียน ชั้นเรียนในห้อง ในชั้น ชั้นหนึ่ง
  3. Life History เป็นการศึกษาแบบเล่าหรือบรรยาย บุคคล ความเป็นมาหรือประวัติของบุคคล
  4. Situation Analysis ศึกษาเหตุการณ์เฉพาะโดยอาศัยมุมมองที่ แตกต่างหลากหลาย
  5. Multi cases เป็นการศึกษาที่มีความแตกต่าง มีความหลากหลายและเป็นอิสระต่อกัน
  6. Multi sits เป็นการศึกษาที่ใช้แหล่งต่างๆจำนวนมาก หรือใช้ความร่วมมือในการวิจัยจากหลายฝ่าย โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาให้ดีขึ้น

จุดมุ่งหมายของการศึกษาวิจัยเฉพาะกรณี

  1. เพื่อพัฒนารูปแบบแนวความคิด (To Developa ConceptModel) เป็นการวิจัยที่เน้นสำรวจและ ค้นหาเพื่อบรรยายอย่างละเอียด
  2. เพื่ออธิบายและวิเคราะห์สถานการณ์ (To describe and Analyze a Situation, Event และ Process) การเหมาะในการศึกษาคนที่มี ลักษณะเบี่ยงเบนจากปกติ เช่น หรือผู้ที่มีทักษะในการใช้ต่างชาติ มักที่จะใช้กับเรื่องที่โต้แย้ง
  3.  เพื่อวิพากษ์ความเชื่อทางสังคม วัฒนธรรมและการปฎิบัติ(To Criticize Social and Cultural Believes and Practices) การศึกษาในเชิงทฤษฎี เช่น การศึกษาสิทธิ สตรี การตกต่างทางกลุ่มศาสนา เชื้อชาติ ชนชั้นทางสังคม เป็นต้น
  4. เพื่อประเมินโครงการ (To evaluate the Program) เป็นการประเมินบริบทของเหตุการณ์ เน้นการประเมินผลลัพธ์ที่ เกิดขึ้น เน้นความสำเร็จของกิจกรรมและโครงการต่างๆ โดยอาศัยทฤษฎีการประเมินมาช่วย
  5. เพื่อกำหนดประเด็นนโยบาย (To identify Policy Issues) โดยการใช้การศึกษาแบบกรณี เช่น การวิเคราะห์โครงสร้างทางเศรษฐกิจและทาง นโยบายของชุมชน เป็นต้น
  6. เพื่อสนับสนุนโครงการวิจัยขนาดใหญ่ (To Contribute to Large – Scale Research Projects) การวิจัยจะช่วยในการศึกษากระบวนการ และความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นที่ศึกษาย่อยๆ เน้นข้อมูล เชิงประจักษ์
  7. เพื่อใช้นำร่องไปสู่การทำวิจัยเชิงปริมาณ (To Serve as a Precursor to Quantitative Research) เป็นวิธีการนำไปสู่การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการทดลองควบคู่ไปด้วย

วิธีการดำเนินการศึกษาแบบวิจัยเฉพาะกรณี

1.เลือกกลุ่มตัวอย่าง  

2. การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง

3. การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง

4. ระยะของการเก็บรวบรวมข้อมูลและ การวิเคราะห์ยุทธศาสตร์

5. การดำเนินการเก็บข้อมูล โดยมีขั้นตอน 5 ขั้นตอน คือ

  • ระยะที่ 1 การวางแผน
  • ระยะที่ 2 การเริ่มเก็บข้อมูล
  • ระยะที่ 3 การเก็บข้อมูลพื้นฐาน
  • ระยะที่ 4 การสรุปการเก็บข้อมูล
  • ระยะที่ 5 การแก้ไขปรับปรุงให้สมบูรณ์

5. การเก็บและการวิเคราะห์

6. การจัดระเบียบข้อมูล (Dataclassification)

7. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis)

รูปแบบของการวิจัยเฉพาะกรณี  มี 3 รูปแบบคือ

  1. ศึกษาเชิงพรรณนา (descriptive)
  2. ศึกษาแบบมุ่งการค้นหา (exploratory)
  3. ศึกษาแบบมุ่งหาคำ อธิบาย (explanatory)

ดังนั้นใครก็ตามที่กำลังมองหาทีมงานมืออาชีพ ที่พร้อมให้คำปรึกษา คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือ พร้อมรับทำวิจัยเฉพาะกรณี (Case-Study Research)ที่มีคุณภาพ บนพื้นฐานของราคาที่ยุติธรรม

วิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research)

วิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research)