การวิจัยเชิงทดลอง เป็นการวิจัยที่เน้นกระบวนการค้นหาความเป็นจริง หลักการทฤษฎี องค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยมุ่งเน้นการศึกษาความเปลี่ยนแปลงของตัวแปร ที่เกี่ยวข้องภายใต้เงื่อนไขที่มีการควบคุมโดยกระบวนการวิจัย เพื่อศึกษาพฤติกรรมหรือสถานการณ์ว่า เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงนั้นหรือไม่ โดยวิธีการเปรียบเทียบของความแตกต่าง ของตัวแปรที่เปลี่ยนไปกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้น ในสภาพที่ถูกควบคุมและทำการสรุปผลความจริงที่ค้นพบ และนำไปอธิบายพฤติกรรมต่างๆในเชิงเหตุผลได้
จึงเป็นการวิจัยจากสาเหตุไปหาผลว่า ตัวแปรที่เกี่ยวข้องนั้นเป็นสาเหตุทำให้เกิดผลหรือไม่ และได้ยอมรับว่าเป็นการวิจัย ที่ให้ผลได้น่าเชื่อถือมากที่สุด โดยเฉพาะหากนำมาใช้กับการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถนำมาพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ได้เป็นอย่างดี
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงทดลอง
- เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงของสาเหตุ ที่ทำให้เกิดพฤติกรรม
- เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุและผลของตัวแปร
- เพื่อนนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้
- เพื่อวิเคราะห์หาข้อบกพร่องของระบบ และนำไปแก้ไขปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพดีมากยิ่งขึ้น
- เพื่อนำไปใช้ในการทดลอง
องค์ประกอบของการวิจัยเชิงทดลอง
กลุ่มทดลอง หมายถึง กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการทดลองที่ได้กำหนดไว้ 2 กลุ่มควบคุม หมายถึงกลุ่มลักษณะที่มีลักษณะเหมือนกลุ่มทดลอง ทั้งเรื่องคุณสมบัติและจำนวนถูกปล่อย ให้เป็นไปตามสภาพปกติที่มีอยู่เดิม เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบพฤติกรรมต่างๆกับกลุ่มที่ทดลอง
ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยเชิงทดลอง มี 4 ชนิดด้วยกันคือ
- ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น คือตัวแปรที่คาดว่าจะเป็นต้นเหตุ หรือเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จะเรียกอีกอย่างว่าตัวแปรทดลองก็ได้ ใช้ตัวย่อว่า X
- ตัวแปรตาม หมายถึงตัวแปรที่คาดว่า จะเป็นผลจากตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น มีอิทธิพลมาจากการกระทำของตัวแปรอิสระ ใช้ตัวย่อว่า Y
- ตัวแปรเชื่อมอยู่คือ ตัวแปรที่สอดแทรกเป็นตัวแปร ที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมใดๆในระหว่างการดำเนินการทดลอง
- ตัวแปรแทรกซ้อนหรือตัวแปรภายนอกคือ ตัวแปรที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการ ดำเนินการทดลองที่อาจมีอิทธิพลต่อการทดลอง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าตัวแปรควบคุม
ประโยชน์ของการวิจัยเชิงทดลอง
- ทำให้ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริง ของปรากฏการณ์หรือพฤติกรรมต่างๆได้อย่างชัดเจน
- เป็นการวิจัยที่เหมาะสม สำหรับการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- สามารถนำมาพัฒนาการศึกษาให้ดีมากยิ่งขึ้น ทำให้ทราบจุดอ่อนจุดแข็งได้เป็นอย่างดี
- มุ่งพัฒนาและสร้างสรรค์ทฤษฎีและองค์ความรู้ใหม่ๆ ทางด้านเทคโนโลยี เช่น นาโนเทคโนโลยี เป็นต้น
วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงทดลอง
- ทำการพิสูจน์ว่าตัวแปรอิสระ เกิดขึ้นก่อนตัวแปรตาม
- ตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม มีความสัมพันธ์ในเชิงหลักการ
- มีการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรตาม ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรต้น
ข้อเสียของการดำเนินการวิจัยเชิงทดลอง
- กลุ่มตัวอย่างส่งผลทำให้การวิจัยคลาดเคลื่อนได้หากกลุ่มตัวอย่างนั้นมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันมาก เช่น ประเพณีและวัฒนธรรม
- กระบวนการวิจัย หากขาดการควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนที่รัดกุม อาจจะทำให้ผลการทดลองไม่ได้เป็นผล มาจากการทดลองที่แท้จริง
- หากขาดแบบแผนการทดลองที่ดี อาจจะทำให้เกิดความผิดพลาด
- ไม่สามารถตรวจสอบสมมุติฐานได้ทุกข้อ
- หากเลือกสถิติไม่เหมาะสมกับการทดลอง
- การสรุปผลไม่ถูกต้อง จะทำให้ขาดความเชื่อมั่น
การควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนในการวิจัยเชิงทดลอง
- การวิจัยเชิงทดลองนั้น มักมีตัวแปรแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้เสมอ ผู้วิจัยจะต้องพบกลุ่มตัวแปรต่างๆไม่ให้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรตามอันเนื่องมาจากการศึกษาตัวแปรอิสระ ที่กำลังศึกษาอยู่เพื่อทำให้ทราบว่าตัวแปรตาม เป็นผลมาจากอิทธิพลของตัวแปรอิสระอย่างแท้จริง ดังนั้นการควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน จึงต้องใช้หลักการควบคุมที่เรียกว่าmax-min-con principle เพื่อเพิ่มความแปรปรวนนี้ ให้เป็นระบบมากที่สุด
- ลดความแปรปรวนของความคลาดเคลื่อน
- ควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน ที่ส่งผลอย่างมีระบบ
- ใช้สถิติ ซึ่งเทคนิคทางวิธีการสถิติ สามารถนำมาควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนได้เป็นอย่างดี
- การตัดทิ้ง เป็นการกำจัดตัวแปรที่คิดว่ามีส่วนร่วมกับการทดลองออกไป จะสามารถคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ที่มีความน่าสนใจเหมือนกันได้ เป็นต้น
แบบแผนในการวิจัยเชิงทดลอง
- แบบแผนการทดลองขั้นต้น ซึ่งเป็นพื้นฐานของการวิจัยเชิงทดลอง นำมาใช้ในการวางแผนการทดลอง โดยมุ่งเน้นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรตาม เนื่องมาจากอิทธิพลของตัวแปรต้น
- แบบแผนการทดลองจริง มุ่งเน้นการวิจัยเชิงทดลองแบบเต็มรูปแบบคือ มีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างเพื่อให้เกิดการกระจาย ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ให้ครอบคลุมประชากรทั้งหมด รวมถึงมีการควบคุมตัวแปรต้นและมีการสร้างกลุ่ม เพื่อเปรียบเทียบผลการทดลอง
- แบบแผนการทดลองกึ่งการทดลอง เป็นแบบแผนการทดลองที่มุ่งเน้น การดำเนินการเพื่อควบคุมตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น กับการควบคุมเพื่อเปรียบเทียบ ผลการทดลองโดยไม่มีการสุ่มให้กลุ่มทดลองแต่อย่างใด
- แบบแผนการทดลองอื่นๆ ซึ่งแบบแผนการทดลองอื่นๆ ที่ใช้ในการวิจัยเชิงทดลองเช่น One shot repeated measured design, Latin square design เป็นต้น
ดังนั้นใครก็ตามที่กำลังมองหาทีมงานมืออาชีพ ที่พร้อมให้คำปรึกษา คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือ พร้อมรับทำวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research)ที่มีคุณภาพ บนพื้นฐานของราคาที่ยุติธรรม