วิจัยเชิงบรรยายหรือวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research)

การวิจัยเชิงพรรณนานั้น เป็นการวิจัยที่มุ่งศึกษาพรรณนา ถึงสภาพที่เป็นอยู่ของปรากฏการณ์นั้นๆ

เป็นการวิจัยที่มุ่งค้นหาข้อเท็จจริง หรืออธิบายปรากฏการณ์สภาพการณ์ที่ปรากฏในปัจจุบันว่า มีสภาพความเป็นจริงอย่างไร อาจจะใช้วิธีการศึกษาแบบสำรวจ หรือแบบหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร หรือแบบ พัฒนาการก็ได้ นิยมวิจัยเกี่ยวกับเรื่องความเชื่อ ความคิดเห็น เจตคติ หรือสภาพการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

ลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงบรรยายหรือพรรณนา

  1. การวิจัยเชิงพรรณนาและแปลความหมายของปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นตามสภาพ
  2. ผู้วิจัยไม่ได้ทำการรวบรวมข้อมูลใด เพียงแต่ทำการรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์และนำมาเสนอ
  3. การศึกษาไม่ได้ทำการควบคุมตัวแปรใดๆ จึงปล่อยให้เป็นไปตามนั้นสภาพตามธรรมชาติ

ความมุ่งหมายของการวิจัยเชิงบรรยายหรือพรรณนา

  1. เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง กับสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
  2. เพื่อนำข้อมูลไปตีความหมาย อธิบาย ประเมินผล และเปรียบเทียบ
  3. เพื่อที่จะทราบความสัมพันธ์ของแนวโน้มของเหตุการณ์
  4. เพื่อสร้างเกณฑ์มาตรฐานของสิ่งที่ได้ศึกษา เพื่อเปรียบเทียบแนวทางแสวงหาความรู้ และความจริง
  5. เพื่อทราบหลักเหตุผล และการปฏิบัติ เพื่อแก้ปัญหา เพื่อหาทางปรับปรุง

ชนิดของการวิจัยเชิงบรรยายหรือพรรณนา แบ่งตามลักษณะของการวิจัยได้ 3 ชนิด คือ

1. การวิจัยเชิงสำรวจ (survey research) เป็นการวิจัยที่มุ่งศึกษาข้อเท็จจริง เรื่องราว เหตุการณ์ หรือสิ่งที่เป็นอยู่ในขณะที่ทำการวิจัย เพื่อเปรียบเทียบตัวแปรแต่ละตัวแปรเป็นที่นิยมสำหรับวิจัยสังคมศาสตร์ และวิจัยบริหารธุรกิจ เช่น การสำรวจการศึกษา การสำรวจชุมชน การทำประชามติ เป็นต้น

2. การวิจัยเชิงย้อนรอย (expost facto / post facto / causal-comparative research) คล้าย ๆ การวิจัยแบบทดลอง แต่ตัวแปรที่ศึกษาไม่สามารถนำมาใช้ได้ เนื่องจากเกิดขึ้นไปแล้ว เป็นการศึกษาย้อนจากผลไปหาสาเหตุ gเช่น การศึกษาเฉพาะกรณี การศึกษาเชิงสหสัมพันธ์ เป็นต้น

3. การวิจัยเชิงพัฒนาการ เป็นการศึกษาที่พิจารณา ความก้าวหน้าหน้าของสภาพหรือปรากฏการณ์ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อที่จะดูวิวัฒนาการหรือพัฒนาการหรือความเปลี่ยนแปลงของกลุ่มตัวอย่าง เช่น การศึกษาการเจริญงอกงาม (Growth Studies) การศึกษาแนวโน้ม (Trend Studies) เป็นต้น

ขั้นตอนของการวิจัยเชิงบรรยายหรือพรรณนา

  1. การเลือกปัญหาในการวิจัย ปัญหาในหารวิจัย มาจากผลการวิจัยที่ผ่านมาแล้วซึ่งผู้วิจัยต้องการศึกษาว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น  เกิดจากสาเหตุใดประเด็นปัญหาของการวิจัยเชิงบรรยาย จึงเกี่ยวข้องกับเรื่องของการแสดงความคิดเห็น การศึกษาแนวโน้ม การติดตาม เป็นต้น
  2. การนิยามคำจำกัดความของปัญหาการวิจัยการเลือกปัญหาการวิจัยที่ดี จะทำให้การนิยามคำจํากัดความของปัญหามีความชัดเจนและ สามารถดําเนินการวิจัยต่อไปได้ โดยเฉพาะวัตถุประสงค์ของการวิจัยจะต้องมีความชัดเจนถึงเป้าประสงค์ที่ต้องการจะหาคำตอบด้วย  เพื่อสามารถตอบปัญหาการวิจัยได้อย่างครอบคลุมทั้งหมด
  3. การวางแผนการดำเนินการวิจัย
    – การกำหนดกลุ่มตัวอย่างและวิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง  
    – การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เช่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ เป็นต้น
    – การวางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องมาก
    – การวางแผนการเลือกใช้สถิติ ให้สอดคล้องกับข้อมูลและสมมติฐาน
  4. การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลผล
    เกิดภายหลังจากการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง โดยใช้เครื่องมือ การวิเคราะห์ข้อมูลและแปรผล ขั้นตอนนี้เกิดภายหลังจากเราเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างแล้วโดยใช้เครื่องมือที่สร้างขึ้นมา โดยจะแปลผลจะแปลตามวัตถุประสงค์หลัก ของการวิจัยรวมถึงการทดสอบสมมุติฐาน ซึ่งผลการวิเคราะห์นั้นจะใช้ในการตอบประเด็นปัญหา ของการวิจัยได้
  5. การสรุปและอภิปรายผลการวิจัย
    ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนต่อเนื่อง จากการวิเคราะห์ข้อมูลและแปรผล โดยจะเขียนสรุปการค้นพบการวิจัย โดยใช้การอ้างอิงจากสถิติต่างๆ จะเห็นได้ถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ทำการศึกษา ตามประเด็นปัญหาของการวิจัย สามารถเพิ่มความเชื่อถือของการวิจัยได้
  6. การเขียนรายงานและเผยแพร่
    ขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนภายหลัง จากการได้ข้อสรุปของการวิจัยแล้ว โดยการเขียนรายงานจะเป็นไปตามมาตรฐาน ของการเขียนรายงานการวิจัย และมีข้อมูลอ้างอิงจากแหล่งต่างๆ เพื่อให้ข้อมูลมีความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น และนำเสนอในโอกาสถัดไป

ข้อด้อยของการวิจัยเชิงบรรยายหรือพรรณนา

  1. การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง หากคัดเลือกไม่ดี ไม่สามารถเป็นตัวแทนของประชากรได้
  2. หากนิยามปัญหาของการวิจัยไม่ชัดเจน จะทำให้กระบวนการของการวิจัยคลุมเครือ ส่งผลทำให้ผลการวิจัยไม่มีคุณภาพ
  3. การวิจัยเชิงบรรยายส่วนมาก จะได้ข้อมูลเชิงทุติยภูมิ ดังนั้นจึงมีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าการเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลชั้นประถมภูมิ
  4. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยบางอย่าง ขาดความเที่ยงตรงและยังขาดความเชื่อมั่น
  5. การเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ หากไม่สอดคล้องกับลักษณะของข้อมูล อาจจะทำให้ผลการวิจัยไม่มีความสมบูรณ์
  6. หากสรุปผลการวิจัยอยู่ในวงแคบ อาจจะไม่ทันกับความเป็นจริงของสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง

 ประโยชน์ของการวิจัยเชิงบรรยายหรือพรรณนา

  1. ทำให้มีความรู้ความเข้าใจ ต่อสถานการณ์และปรากฏการณ์การต่างๆได้ชัดเจน และมีความถูกต้อง
  2. ทราบข้อเท็จจริงต่างๆตามสถานการณ์ และตัวแปรสามารถนำไปใช้ในการวางแผน ให้สู่เป้าหมายได้
  3. ทำให้ทราบความสัมพันธ์ของตัวแปรที่เกี่ยวข้อง สามารถนำไปใช้แก้ไขปัญหาต่างๆได้ดี
  4. เหมาะสำหรับการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ เนื่องจากสามารถศึกษารายละเอียด ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประชากรได้เป็นอย่างดี
  5. สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการกำหนดประเด็นปัญหา ที่มาของปัญหา
  6. เมื่อเปรียบเทียบกับการวิจัยประเภทอื่นๆ สามารถทำได้ง่ายมากกว่าและมีประโยชน์คนส่วนใหญ่

จะเห็นได้เลยว่าขั้นตอนในการรับวิจัยเชิงบรรยายหรือพรรณนานั้น เป็นงานวิจัยที่ค่อนข้างจะสลับซับซ้อน ดังนั้นต้องใช้เวลาและความละเอียดรอบคอบ  ในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ดังนั้นการหาทีมงานมืออาชีพที่รับวิจัยเชิงบรรยายหรือพรรณนา ท่านจะไม่ต้องเสียเวลาไปหาทีมงานที่ไหน เรามีบริการครบเครื่องของการวิจัย ไว้คอยบริการท่าน

วิจัยเชิงพัฒนา (Developmental Research)

วิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical Research)