วิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical Research)

การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์เป็นการวิจัย ที่เน้นในการที่จะแสวงหาข้อเท็จจริงของสิ่งต่างๆ รวมทั้งเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมาแล้วในอดีต โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วย ในการรวบรวมข้อมูล และการตรวจสอบข้อเท็จจริง ตลอดจนการสรุปผลด้วยความสมเหตุสมผล และสามารถนำผลจากการวิจัยที่ได้ มาใช้ในการอธิบายเหตุและผล จึงเป็นงานวิจัยที่ต้องอาศัยเวลาและความละเอียดในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากทีมงานรับทำวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ ที่เป็นมืออาชีพเท่านั้น จึงจะทำให้ผลงานออกมาดีและมีความน่าเชื่อถือ

ประเภทของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ชนิดคือ

  1. ศึกษาเป็นรายกรณี เป็นการศึกษาที่ชี้เฉพาะลงไป โดยอาจศึกษาเจาะจงกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือสถาบัน
  2. การศึกษาพัฒนาการ เป็นการศึกษาความแตกต่าง ของเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ในระยะใดระยะหนึ่ง โดยอาจศึกษาเหตุการณ์ทั้งหมด หรือเพียงบางส่วนของเหตุการณ์นั้น
  3. การศึกษาความเปลี่ยนแปลง รูปแบบคล้ายคลึงกับแบบที่ 2 แต่เป็นการเปรียบเทียบลักษณะการ เปลี่ยนแปลง ในเรื่องราวหรือเหตุการณ์ในอดีต กับเหตุการณ์ในปัจจุบัน

จุดมุ่งหมายของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

  1. เพื่อศึกษาต้นกำเนิดหรือรากฐานของสิ่งที่ต้องการค้นหา
  2. เพื่อศึกษาถึงสภาพความเป็นจริง และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ที่ผ่านมาในอดีต หรือมีการเปลี่ยนแปลง
  3. เพื่อศึกษาสภาพเหตุการณ์ในปัจจุบัน อันสืบเนื่องจากเหตุการณ์ในอดีต สามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงของเดิมที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้น
  4. เพื่อศึกษาเหตุการณ์ในอดีตหรือความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ในอดีต สามารถนำไปใช้ในการทำนายเหตุการณ์ที่จะเกิดในอนาคตได้
  5. เพื่อศึกษาชี้ให้เห็นถึงข้อดีข้อเสียของเหตุการณ์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน

แหล่งที่มาของข้อมูลในการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

  1. ข้อมูลชั้นต้นหรือข้อมูลปฐมภูมิ (Primary sources) เป็นแหล่งของข้อมูลที่ผู้วิจัยได้จากหลักฐานเดิม หรือ เช่นคำบอกเล่า  การบันทึก เอกสารต่างๆ กฎหมายต่างๆ ประกาศ ระเบียบ สถิติต่างๆ ประกาศนียบัตร ซากโบราณวัตถุ
  2. ข้อมูลชั้นรองหรือข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary sources) เป็นแหล่งของข้อมูลที่ได้จากรายงาน หรือ ถ่ายทอดมา โดยรายงานโดยผู้ที่ไม่ได้มีส่วนร่วม

ลักษณะของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

  1. พยายามอธิบายเหตุการณ์ในอดีต เพื่อประโยชน์ของการอธิบายเหตุการณ์ในปัจจุบัน และใช้ทำนายเหตุการณ์ในอนาคตได้
  2. มักไม่ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล แต่จะใช้วิธีการวิพากษ์วิจารณ์ข้อมูล เพื่อตีความหมายข้อมูลและสรุปผล
  3. เน้นข้อมูลทางด้านหลักฐานต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต
  4. ที่ใช้เอกสารและห้องสมุด เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลเป็นส่วนใหญ่
  5. ผู้วิจัยไม่สามารถสร้างสถานการณ์เพื่อทดสอบผลการวิจัยได้
  6. ผู้วิจัยไม่มีส่วนร่วมในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพียงแต่นำสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วมาวิเคราะห์

ลำดับขั้นของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

  1. เลือกหัวข้อปัญหาที่จะทำการวิจัย เพื่อช่วยในการกำหนดขอบข่ายของงานวิจัย โดยพิจารณาว่าหัวข้อปัญหาในการวิจัยนี้เหมาะสมหรือไม่ จะหาข้อมูลได้จากที่ไหน และเป็นประโยชน์หรือในการศึกษาหรือไม่
  2. ตั้งจุดมุ่งหมายของการวิจัย โดยตั้งเป็นสมมติฐาน เพื่อช่วยให้สามารถกำหนดรูปแบบของการวิจัยได้
  3. การเก็บรวบรวมข้อมูล อาจจะเป็นแหล่งปฐมภูมิหรือแหล่งทุติยภูมิ
  4. ทำการข้อมูลที่รวบรวม ให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกในการวิเคราะห์
  5. ประเมินผลข้อมูล โดยประเมินคุณค่า ทั้งภายนอกและภายใน
  6. เขียนรายงานการวิจัย โดยการเขียนรายงานการวิจัยมีมากมายหลากหลายแบบ จะเสนอตามลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง หรือ เสนอตามกรอบหรือโครงร่างของเนื้อหาวิชาก็ได้
  7. การประเมินคุณค่าข้อมูลในทางประวัติศาสตร์ ขั้นตอนนี้ต้องระมัดระวังอย่างมาก เพราะว่าเป็นเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมาแล้วในอดีต  จึงมักต้องใช้ข้อมูลซึ่งมาจากรายงาน ของผู้ที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์หรือพยาน เพื่อให้ได้มาซึ่งความจริงในสิ่งนั้น

ประโยชน์ของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

  1. ทำให้เราทราบสภาพของปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต และเมื่อเกิดเหตุการณ์เดิมสามารถที่จะแก้ไขได้
  2. สามารถนำมาใช้แก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ ในปัจจุบันได้
  3. ใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขสิ่ง ต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะ ปัจจุบันได้
  4. ใช้เป็นพื้นฐานของการปฏิบัติงานในปัจจุบัน และเป็นพื้นฐานแก่ผู้ที่ทำการศึกษาค้นคว้าต่อไป

ดังนั้นใครก็ตามที่กำลังมองหาทีมงานมืออาชีพ ที่พร้อมให้คำปรึกษา คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือ พร้อมรับวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical Research)ที่มีคุณภาพ บนพื้นฐานของราคาที่ยุติธรรม

วิจัยเชิงบรรยายหรือวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research)

วิจัยปฎิบัติการ (Action Research)