วิจัยเชิงพัฒนา (Developmental Research)

การวิจัยเชิงพัฒนา เป็นการวิจัยที่มีการดำเนินการหลายขั้นตอน โดยนำความรู้ที่ได้ไปสู่การพัฒนาเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์ หรือนวัตกรรม หรือแม้แต่กระบวนการใหม่ๆ

จึงเป็นงานวิจัยที่มุ่งเน้น การนำผลงานการวิจัยไปใช้ประโยชน์โดยตรง อย่างเป็นรูปธรรม เห็นผลอย่างชัดเจนในการพัฒนา ตามเป้าหมายที่กำหนด เช่น กระบวนการผลิต กระบวนการบริการ กระบวนการพัฒนาการเกษตรกร การพัฒนาชุมชน พัฒนาอุตสาหกรรม หรือแม้แต่การจัดการสิ่งแวดล้อม ก็นิยมในการที่จะใช้การวิจัยเชิงพัฒนาด้วยกันทั้งสิ้น

แนวทางที่นิยมของการวิจัยเชิงพัฒนา

  1. การวิจัยเชิงพัฒนาเพื่อปรับปรุงรูปแบบ คือการนำหลักการหรือทฤษฎี มาผสมผสานกันกับเครื่องมือ และนำมาประยุกต์ใช้จริง ด้วยนำมาสู่กระบวนการวิจัยทดลอง หารูปแบบจนเกิดประสิทธิภาพ เช่น การพัฒนาห้องเรียน การทดลองทางวิทยาศาสตร์
  2. การวิจัยเชิงพัฒนาผลิตภัณฑ์ การวิจัยผลิตภัณฑ์นี้ ขอบข่ายของการวิจัยจะอยู่ในกลุ่มการวิจัยอุตสาหกรรม มุ่งเน้นที่ตัวผลิตภัณฑ์เป็นหลัก เช่น การทนความร้อน การหดตัวของผลิตภัณฑ์
  3. การวิจัยเชิงพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ เป็นการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆในระบบผลิต ให้มีความสะดวกในการใช้ใช้งาน มีประสิทธิภาพและมีความแข็งแรง สามารถลดต้นทุนในการผลิตได้
  4. การวิจัยเชิงพัฒนาสร้างนวัตกรรม เป็นการสร้างนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ ที่ยังไม่มีใครเคยวิจัยมาก่อน

จุดประสงค์หลักของการวิจัยเชิงพัฒนา

  1. นำผลงานวิจัยไปใช้ เพื่อแก้ปัญหาในกระบวนการผลิต การตลาด อุตสาหกรรม หรือแม้แต่สังคม ดังนั้นการวัดความสำเร็จของโครงการในการวิจัย จึงวัดกันที่ความสำเร็จจากการที่จะนำผลงานการวิจัยไปใช้ ไป
  2. สร้างผลผลิตออกมาอย่างเป็นรูปธรรม สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล
  3. สามารถนำมาประยุกต์ใช้ และพัฒนาองค์กรและผลิตภัณฑ์ ได้อย่างแท้จริง ดังนั้นการวิจัยชนิดนี้จึงเป็นหนึ่งการวิจัย ที่สามารถสนับสนุนความต่อเนื่องขององค์กร เพื่อเกิดการนำไปใช้ได้จริง

กระบวนการการวิจัยเชิงพัฒนา

  1. การสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการ เป็นการดำเนินการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) หรือการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับสภาพปัญหา เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
  2. การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นการดำเนินการโดยการนำความรู้และผลการวิจัยที่ได้จากขั้น แรกมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยการกำหนดวัตถุประสงค์ การกำหนดวิธี ทรัพยากรที่ต้องการ งบประมาณ วัสดุ ครุภัณฑ์ และระยะเวลา จึงดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้มีลักษณะหรือรูปแบบตามความต้องการขั้นตอนนี้จะต้องใช้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง
  3. การทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ เมื่อสร้างผลิตภัณฑ์เสร็จ แล้วจะต้องนำไปตรวจสอบความเหมาะสม และประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ หากไม่เป็นที่พอใจ จะต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไข จนกระทั่งผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสม
  4. การเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ เป็นการนำผลการวิจัยและผลิตภัณฑ์ไปเผยแพร่ เช่น การนำเสนอ การตีพิมพ์ การติดต่อกับหน่วยงาน หรือติดต่อกับบริษัทเพื่อผลิตจำหน่าย

ข้อดีของการวิจัยเชิงพัฒนา

  1. ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ นำไปใช้ในการพัฒนาบุคลากรหรือองค์การ เพราะว่าผลิตภัณฑ์ก็เป็นเสมือนเครื่องมือ ที่ใช้ในการพัฒนาบุคลากร ให้มีคุณภาพและ พัฒนาองค์การให้มีประสิทธิภาพ
  2. ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความหมาย และตรงกับความต้องการของผู้ใช้ เนื่องจากเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งาน เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย ดังนั้นจึงมีแนวโน้มที่เป็นไปได้สูง ที่จะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ ตอบสนองความต้องการ จำเป็นในการใช้งานของผู้ใช้อย่างแท้จริง
  3. มีส่วนส่งเสริมชื่อเสียงและรายได้แก่นักวิจัย

ข้อจำกัดของการวิจัยเชิงพัฒนา

การวิจัยและพัฒนาจะใช้ระยะเวลา รวมทั้งค่าใช้จ่ายจำนวนมาก บุคลากรทางการวิจัยที่มีสติปัญญาดี มีจิตใจ ที่มุ่งมั่นและทุ่มเท

ดังนั้นจะเห็นได้เลยว่ากระบวนการวิจัยและพัฒนา นั้นมุ่งเน้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตในกระบวนการเป็นอย่างดี ดังนั้นการวิจัยชนิดนี้จึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ และพัฒนาองค์กรและผลิตภัณฑ์ได้อย่างแท้จริง ดังนั้นการวิจัยชนิดนี้จึงเป็นหนึ่งการวิจัย ที่สามารถสนับสนุนความต่อเนื่องขององค์กร เพื่อเกิดการนำไปใช้ได้จริง จึงควรต้องอาศัยทีมงานมืออาชีพเพื่อนำไปสู่การรับการวิจัยเชิงพัฒนาที่ได้ผล

วิจัยเชิงบรรยายหรือวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research)